• 13 กันยายน 2018 at 16:59
  • 553
  • 0

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)
 

“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)

“ถ้าเจ้าเห็นข้าก็หลั่งน้ำตาได้เลย” ข้อความสลักบนหินก้อนมหึมาขนาดเท่าๆ กับรถตู้คันหนึ่งปรากฎให้เห็นอีกครั้งในแม่น้ำที่สาธารณรัฐเช็ก สืบเนื่องจากภัยแล้งในช่วงฤดูร้อนที่ยาวนานของยุโรป ซึ่งทำให้ระดับน้ำลดลงถึงขั้นวิกฤต

ก้อนหินดังกล่าวอยู่ในเมืองเดซซิน (Decin) ทางตอนเหนือของกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก โดยอยู่ลึกใต้แม่น้ำเอ็ลเบอ (Elbe River) ตามคำเรียกของเยอรมัน หรือแม่น้ำลาแบ (Labe) ตามคำเรียกของเช็ก

ข้อความบนก้อนหินนั้นสลักเป็นภาษาเยอรมันว่า “Wenn du mich siehst, dann weine” โดย ฟรานซ์ มาเยอร์ (Franz Mayer) คนเรือและเจ้าของโรงแรมริมน้ำ ในช่วงที่ระดับน้ำในแม่น้ำลดต่ำมากเมื่อปี 1904 ซึ่งเป็นช่วงที่เช็กยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (Austro-Hungarian Empire) 

วลาสติมิล ปาซูเรก (Vlastimil Pazourek) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ในเดซซิน บอกผู้สื่อข่าวเอเอฟพีว่า ตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากในแถบนี้ดำรงชีวิตริมแม่น้ำเอ็ลเบอด้วยการล่องแพ และเมื่อไม่มีน้ำมากพอให้ลอยแพ พวกเขาก็สูญเสียวิถีชีวิตของพวกเขาไป 

ปาซูเรกให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวชาวแพได้บันทึกวันเวลาของปีอันเลวร้ายลงบนหินทรายอ่อนก้อนกลมที่พบได้ทั่วไปพื้นที่ แล้วตั้งชื่อว่า “หินผู้หิวโหย” (hunger stone) 

ทั้งนี้ มีหินทรายกลมประมาณ 20 ก้อนที่ถูกกสลักด้วยสัญลักษณ์และวันเดือนปีที่ย้อนไปเป็นเวลาหลายร้อยปี ซึ่งยังพบเห็นได้บนฝั่งแม่น้ำเอ็ลเบอ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของยุโรปกลางที่ไหลผ่านจากสาธารณรัฐเช็กไปยังเยอรมนีจนถึงทะเลเหนือ โดยปีที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกสลักคือ “1616” อยู่บนก่อนหินริมฝั่งแม่น้ำในเดซซินซึ่งทอดเป็นแนวทาง 20 กิโลเมตรจากชายแดนเยอรมนี 

แม่น้ำเอลเบอในปัจจุบันต่างไปจากแม่น้ำเอ็ลเบอที่ ฟรานซ์ เมเยอร์ เคยรู้จักเมื่อครั้งสลักความทุกข์ระทมไว้บนหิน เนื่องจากแม่น้ำสายนี้น้ำมีมากขึ้น และถูกขุดให้ลึกเพื่อให้สะดวกต่อการสัญจร และกระแสน้ำยังไหลแรงจากเขื่อน 9 แห่งที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 บนแม่น้ำวัลตาวา (Vltava) ซึ่งเป็นแม่น้ำสายย่อยของเอ็ลเบอ 

ทว่าตอนนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซินเฉลี่ยอยู่ที่ 3 เมตร ซึ่งต่ำกว่าเมื่อปี ค.ศ.1904 ประมาณ 1.5 เมตร และปาซูเรกได้เผยอีกว่า บางส่วนของหินผู้หิวโหยนั้นได้โผล่ออกมาให้เห็นบ่อยมากกว่าปีละ 100 กว่าวัน เมื่อระดับน้ำลดไปถึง 160 เซ็นติเมตร (1.6เมตร) 

นอกจากนี้เมื่อปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ระดับลดลงเหลือเพียง 90 เซ็นติเมตร หลังจากเข้าสู่ฤดูร้อนที่ร้อนจัดและแห้งแล้งยาวนาน ทำให้ไม่สามารถสัญจรทางน้ำได้ โดยทางสถาบันทางด้านภูมิอากาศได้ระบุเมื่อประมาณสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ว่ากรุงปรากนั้นเผยฤดูร้อนที่ร้อนจัดที่สุดนับแต่เริ่มบันทึกสถิติเมื่อปี ค.ศ.1775 

“ความยากลำบากเริ่มขึ้นเมื่อระดับน้ำของแม่น้ำเอ็ลเบอในเมืองเดซซินลดต่ำเหลือประมาณ 250 เซ็นติเมตร และเมื่อระดับน้ำต่ำกว่า 115 เซ็นติเมตร การขนส่งทางน้ำก็ไม่สามารถทำได้เลย” จิริ ปีเตอร์ (Jiri) ผู้อำนวยการท่าขนส่งที่โปโวดีลาแบ (Povodi Labe) ซึ่งเป็นบรรษัทของภาครัฐที่บริหารจัดการการเดินเรือในแม่น้ำเอ็ลเบอของเช็กได้ให้ข้อมูล 

สถานการณ์ที่ยากลำบากนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2015 และ 2016 แต่สำหรับปีนี้ ปีเตอร์บอกว่า ระดับน้ำลดลงอย่างฉับพลันในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำนี้จะกลับมาเป็นปกติในอีกหลายปีข้างหน้า 

“ด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ระดับน้ำที่ลดต่ำลงจะเกิดถี่ขึ้น สิ่งที่เราตระหนักว่าร้ายแรงในวันนี้ จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นประจำวันในอีกหลายทศวรรษที่จะมาถึงนี้” อาร์นิกา (Arnika) องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในกรุงปรากได้อ้างคำแถลงของ โทเบียส คอนราดท์ (Tobias Conradt) ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกวิทยาในเยอรมนี

ข้อมูลจากเอเอฟพีระบุด้วยว่า ภัยแล้งในปีนี้ได้ส่งผลกระทบต่อทั่วพื้นที่ของสาธารณรัฐเช็กประมาณ 94% โดยเป็นเหตุให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายประมาณ 0.9 -1.1 หมื่นล้านโครูนา (koruna) หรือประมาณ 408-500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินบาทไทยประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท 

ขณะเดียวกันเกษตรกรทั่วยุโรป รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ปกติไม่ขาดแคลนน้ำ ต่างเผชิญความเดือดร้อนจากภัยแล้งที่เป็นประวัติการณ์ โดยเกษตรกรจำนวนมากจำต้องสังหารปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เนื่องจากขาดแคลนอาหารสัตว์จำพวกฟางและหญ้า 

จากความน่าตื่นตาของทัศนียภาพ 2 ริมฝั่งแม่น้ำสายหลักของยุโรป สู่บันทึกเรื่องราวความทุกข์ยากมานานหลายร้อยปี ที่เวียนมาตอกย้ำอีกครั้ง และมีทีท่าว่าจะหนักหนาขึ้นเรื่อยๆ

“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)
 
“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)

 

“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)
 
“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)

 

“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)
 
“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)

 

“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)
 
“หินผู้หิวโหย” ก้อนหินทรายขนาดมหึมาในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองเดซซิน ซึ่งสลักเรื่องราวความทุกข์ยากของชาวเช็กในยามน้ำแล้งเมื่อหลายศตวรรษก่อน ได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง พร้อมกับสถานการณ์ภัยแล้งที่สร้างความเสียหายนับหมื่นล้านบาททั่วยุโรป (MICHAL CIZEK / AFP)

 

 

#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox, #victorinox มือสอง,#มีดเดินป่า ตราจรเข้,#Ralph Martindale,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดภาวะวิกฤต