การท่องเที่ยวเชิงสัมผัส นิทรรศการจำลอง 5 แลนมาร์คเพื่อคนตาบอด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“สัมผัสแห่งความสุข ท่องเที่ยววิถีไทย อย่างยั่งยืน” จะมีสักกี่ครั้งที่คนตาบอดจะได้สัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตัวเอง ผ่านนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปะ แต่ในครั้งนี้แค่มายังสถานที่นี้เพียงที่เดียว เหมือนได้ไปจุดสำคัญถึง 5 แห่งของประเทศไทย


 

 


“รู้สึกดีใจครับ ที่มีโครงการอย่างนี้เกิดขึ้นมา อย่างน้อยนักเรียนของเราก็มีข้อจำกัดในการเดินทางไปท่องเที่ยว เขามาที่นี่ก็เหมือนกับว่าได้ไปสถานที่หลายๆ จังหวัดที่สำคัญ เด็กๆ สามารถเรียนรู้จากตรงนี้ได้”

นี่คือเสียงของครูวุฒิ -จักรพัฒน์ รัตนพลกร ครูผู้ดูแลน้องๆ จากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ที่กำลังพูดถึงเรื่องความรู้สึกที่ได้มีโอกาสพานักเรียนมาร่วมโครงการครั้งนี้ ก่อนที่จะพาน้องๆ เข้าไปร่วมสัมผัส นิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปะเพื่อคนตาบอด“สัมผัสแห่งความสุข ท่องเที่ยววิถีไทย อย่างยั่งยืน” 
ครูวุฒิได้เล่าว่า ได้พานักเรียนมาร่วมโครงการนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว รู้สึกเป็นโครงการที่ดี ทำให้เด็กๆ มีโอกาสใกล้ชิดกับสถานที่ต่างๆ มากขึ้น และได้เสริมสร้างประสบการณ์สัมผัสรับรู้ด้วยตัวเอง

 


[ครูวุฒิ -จักรพัฒน์ รัตนพลกร]
ทั้งนี้โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปะเพื่อคนตาบอด เป็นการดำเนินงานโดยกรมการท่องเที่ยว (กทท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะให้แก่คนตาบอดได้มีโอกาสสัมผัสการท่องเที่ยวผ่านศิลปะ ตามนโยบาย Tourism For All ของรัฐบาล มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 7 ปี

 

 

 


โดยรูปแบบในการจัดประกวดปีนี้ คือประติมากรรมรูปปั้นนูนต่ำ นูนสูง สถานที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และได้จัดแสดงนิทรรศการโดยมีผลงานที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 5 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นตัวแทนในการนำเสนอแต่ละแลนด์มาร์คในสถานที่ท่องเที่ยวไทย ตั้งแต่ 1.วัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย (ผลงานจากทีมศิริมงคล) 2.เกาะกลาง จ.กระบี่(ผลงานจากทีมMoument ) 3.ทะเลน้อย จ. พัทลุง (ผลงานจากทีมประติมากรรม) 4.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี(ผลงานจากทีมRSU SEE MOOM MAUNG) และ5. วัดช้างล้อม จ.สุโขทัย (ผลงานจากทีมThai Sculpture)

ทิพย์วรรณ ทวีรัตน์ นักศึกษาจากวิทยาลัยเพาะช่าง ตัวแทนของทีมศิริมงคล เด็กรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากผลงานตามรอยโบราณวัดมหาธาตุ จ. สุโขทัย เปิดเผยด้วยความภาคภูมิใจว่า ของบางอย่างไม่ใช่ทุกคนจะได้เห็นเหมือนกันหมด บางอย่างคนปกติด้านสายตาอาจจะไม่ได้เห็นก็ได้ เลยมีแนวคิดที่จะทำ และส่งเข้าประกวดเพื่อให้ทุกคนที่ไม่เคยสัมผัส หรือเห็น ทั้งคนปกติทางสายตา และพิการทางด้านสายตาได้เห็น ได้รู้จักสิ่งที่เสนอออกไป 

 


[ทิพย์วรรณ ทวีรัตน์] 
“เป็นการจำลองของเมืองโบราณจ.สุโขทัย ที่ทำที่นี่เพราะว่า ในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย เป็นที่ทราบกันดีว่า สมัยสุโขทัย มีความรุ่งเรืองหลายด้าน ทั้งทางศาสนา , การปกครอง ,วัฒนธรรม แล้วพอเวลาผ่านมาเหมือนกับว่าทุกอย่างก็ยังอยู่ที่นี่ สถานที่นี้ก็ยังอยู่ สถานที่ก็ยังมีความสมบูรณ์มากๆ ถ้าเกิดเราได้ไปก็จะได้ศึกษาสถานที่จริงๆ เหมือนกับว่าที่นี่จัดตั้งอยู่กลางเมืองสุโขทัย ถ้าใครไม่มาที่นี่ก็จะพลาดไปเลย เหมือนมาไม่ถึงสุโขทัย

เรามองว่าบางอย่างในทีนี่ไม่ใช่แค่คนพิการทางสายตาได้เห็น ได้สัมผัส แต่คนที่สายตาปกติเนี่ยเขาก็มองไม่เห็นเหมือนกัน อย่างเช่น ดาวเพดานอะไรอย่างนี้ค่ะ มีการนำเอาออกไปพิพิธภัณฑ์แล้ว ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้เห็น ได้จับ ได้สัมผัสกัน เราก็เลยมีการจำลองงานนี้เพื่อจะแบบว่า ไม่ใช่แค่คนที่พิการทางสายตาที่จะได้เห็น แต่ว่าคนตาดีก็มีโอกาสที่จะเห็นเช่นกัน”

 


ปัจจุบันคนพิการทางการมองเห็น หรือคนตาบอด ในฐานะประชากรกลุ่มหนึ่งยังประสบปัญหา และข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกิจกรรมพักผ่อนที่ทุกคนต้องมี รวมถึงการขาดแคลนข้อมูลข่าวสารข่าวสารที่สามารถรับรู้ได้สะดวก 

อย่างไรก็ดีคนตาบอดเองต่างมีความฝันที่จะได้สัมผัสแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงการได้สัมผัสบุคคลที่มีชื่อเสียง ดังนั้น การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสร้างความตะหยนักถึงความสำคัญของคนตาบอด และคนปกติในการรับรู้ร่วมกัน เปรียบเสมือนเครื่องมือในการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทุกคนในสังคม และยังได้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทยให้ดีขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยังได้กล่าวถึงการสานต่อของโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่7เอาไว้ว่า การแสดงศิลปะในลักษณะงานสื่อผสม โดยสร้างศิลปกรรมรูปปั้นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย หรือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีผลงานของทีมผู้เข้าประกวดที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 5 ทีมสุดท้าย มาร่วมจัดแสดงภายในงานนิทรรศการ และภายหลังการจัดนิทรรศการ กรมการท่องเที่ยวจะนำผลงานศิลปะไปติดยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวในรูปแปปศิลปะอีกทางหนึ่งด้วย

“กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสังคมให้แก่ผู้พิการทางการมองเห็น หรือคนตาบอด เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันในการท่องเที่ยวตามแนวทางของ United Nations Worlad Tourism Organization (UNWTO) ที่มุ้งเน้นให้การท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงความต้องการของคนทั้งมวล ตลอดจนเป็นการสานต่อพระราชดำริของพระเจ้าวงรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ที่ทรงปรารถนาจะเห็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม และสร้างโอกาสทางความเท่าเทียม ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมด้วยความเอื้ออาทร และยอมรับซึ่งกันและกัน

ทางกรมการท่องเที่ยวหวังว่าจะได้เห็นผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรวมถึงประชาชนทั่วไป จะเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความเท่าเทียมกันในสังคม รวมถึงมาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล”

ข่าวโดยทีมข่าว MGR Live

 

 

#eosgear,#ถุงมือกันบาด,#อะไหล่ victorinox, #victorinox มือสอง,#มีดเดินป่า ตราจรเข้,#Ralph Martindale,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดภาวะวิกฤต

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2