ชีววิทยาของไส้เดือนดิน(2)

ชีววิทยาของไส้เดือนดิน
สุพาภรณ์  ดาดง
ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกี่ยวกับไส้เดือนดิน

ช่องเปิดบนผิวตัว

ช่องเพศผู้
          ช่องเพศผู้เป็นรูสำหรับปล่อยอสุจิ

ช่องเปิดของถุงรับอสุจิ
         ถุงรับอสุจิจัดเป็นอวัยวะเพศเมีย 
        หน้าที่เก็บพักอสุจิที่ได้รับจากการผสมพันธุ์เอาไว้

ช่องเพศเมีย
        เป็นรูสำหรับปล่อยไข่

รูด้านหลัง 
       เป็นรูเปิดซึ่งเป็นทางออกของของเหลวในช่องตัว ให้ร่างกายชื้นอยู่เสมอ 

รูขับถ่าย
       อยู่ทางด้านท้องเกือบทุกปล้อง

 

ผนังตัว

คิวทิเคิล เป็นผนังชั้นตัวนอกสุดที่บางมาก คิวทิเคิลโปร่งใสหรือมันวาวปกคลุมชั้นเยื่อบุผิวเอาไว้

ชั้นเยื่อบุผิว ถัดจากคิวทิเคิลเข้ามา ทำหน้าที่สร้างคิวทิเคิลและเมือกฉาบที่ผิวของคิวทิเคิล เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งและช่วยหล่อลื่นในเวลาเคลื่อนที่ นอกจากนี้บนเยื่อบุผิวมีเซลล์รับความรู้สึกกระจายทั่วไปเพื่อรับรู้การกระตุ้นจากการสัมผัสสิ่งต่างๆของเนื้อเยื่อ

ชั้นกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อรอบวง และกล้ามเนื้อตามยาว

ช่องตัวหรือซีลอม เป็นโพรงระหว่างผนังตัวกับท่อทางเดินอาหาร ช่องตัวมีความยาวตลอดลำตัวและมีของเหลวบรรจุอยู่

 

ท่อทางเดินอาหาร เป็นท่อตรงจากปากไปออกทวารหนัก มีการแปรสภาพท่อบางส่วนไปเป็นอุ้งปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพัก กระเพาะบด และลำไส้

 


ท่อทางเดินอาหาร


อุ้งปาก มีขนาดเล็กและสั้นอยู่ใต้โพรสโทเมียม
คอหอยอยู่ถัดจากอุ้งปาก คอหอยหนาด้วยกล้ามเนื้อทำหน้าที่ใน การดูดอาหาร บริเวณคอหอยมีต่อมฟาริงซ์ สร้างสารละลายที่เป็นเมือกและเอนไซม์

หลอดอาหาร เป็นท่อแคบและเล็ก ตอนท้ายแปรสภาพเป็นกระเพาะพักและกระเพาะบด

ลำไส้ เป็นท่อยาวตรงไปตลอดลำตัว ลำไส้ตอนหน้าสร้างสารคัดหลั่งและมีการย่อยอาหาร ส่วนลำไส้ตอนท้ายทำหน้าที่ดูดซับ 

ทวารหนัก ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกมาเป็นมูลของไส้เดือนดิน ซึ่งเป็นขุยดินลักษณะร่วนไม่เกาะตัวกันอยู่ตามพื้นดินเรียกว่า แคสต์ (cast) หรือ vermicast

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2